กฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนอง

หมวด ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

มาตรา ๗๐๒
อันว่าจำนองนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิจารณาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่

มาตรา ๗๐๓
อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย คือ
(๑) เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
(๒) แพ
(๓) สัตว์พาหนะ
(๔) สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ

มาตรา ๗๐๔
สัญญาจำนองต้องระบุทรัพย์สินซึ่งจำนอง

มาตรา ๗๐๕
การจำนองทรัพย์สินนั้น นอกจากผู้เป็นเจ้าของในขณะนั้นแล้ว ท่านว่าใครอื่นจะจำนองหาได้ไม่

มาตรา ๗๐๖
บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นใด จะจำนองทรัพย์สินนั้นได้แต่ภายในบังคับเงื่อนไขเช่นนั้น

มาตรา ๗๐๗
บทบัญญัติมาตรา ๖๘๑ ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร

มาตรา ๗๐๘
สัญญาจำนองนั้นต้องมีจำนวนเงินระบุไว้เป็นเรือนเงินไทยเป็นจำนวนแน่ตรงตัว หรือจำนวนขั้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์สินจำนองนั้นตราไว้เป็นประกัน

มาตรา ๗๐๙
บุคคลคนหนึ่งจะจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ก็ให้ทำได้

มาตรา ๗๑๐
ทรัพย์สินหลายสิ่งมีเจ้าของคนเดียวหรือหลายคนจะจำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียว ท่านก็ให้ทำได้
และในการนี้คู่สัญญาจะตกลงกันดังต่อไปนี้ก็ได้ คือว่า
(๑) ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์สินซึ่งจำนองตามลำดับอันระบุไว้
(๒) ให้ถือเอาทรัพย์สินแต่ละสิ่งเป็นประกันหนี้เฉพาะแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ระบุไว้

มาตรา ๗๑๑
การที่จะตกลงกันไว้เสียแต่ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระเป็นข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งจำนอง หรือว่าให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นอย่างใดนอกจากตามบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนองนั้นไซร้ ข้อตกลงเช่นนั้นท่านว่าไม่สมบูรณ์

มาตรา ๗๑๒
แม้ถึงว่ามีข้อสัญญาเป็นอย่างอื่นก็ตาม ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แก่บุคคลคนหนึ่งนั้น ท่านว่าจะเอาไปจำนองแก่บุคคลอีกคนหนึ่งในระหว่างเวลาที่สัญญาก่อนยังมีอายุอยู่ก็ได้

มาตรา ๗๑๓
ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาจำนอง ท่านว่าผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวด ๆ ก็ได้

มาตรา ๗๑๔
อันสัญญาจำนองนั้น ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๗๑๔/๑
บรรดาข้อตกลงเกี่ยวกับการจำนองที่แตกต่างไปจากมาตรา ๗๒๘ มาตรา ๗๒๙ และมาตรา ๗๓๕ เป็นโมฆะ

หมวด ๒ สิทธิจำนองครอบเพียงใด

มาตรา ๗๑๕
ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ดอกเบี้ย
(๒) ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
(๓) ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง

มาตรา ๗๑๖
จำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่ง แม้จะได้ชำระหนี้แล้วบางส่วน

มาตรา ๗๑๗
แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม ท่านว่าจำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง
ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าผู้รับจำนองยินยอมด้วย ท่านว่าจะโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งส่วนใดไปปลอดจากจำนองก็ให้ทำได้ แต่ความยินยอมดังว่านี้ หากมิได้จดทะเบียน ท่านว่าจะยกเอาขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่

มาตรา ๗๑๘
จำนองย่อมครอบไปถึงทรัพย์ทั้งปวงอันติดพันอยู่กับทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ต้องอยู่ภายในบังคับซึ่งท่านจำกัดไว้ในสามมาตราต่อไปนี้

มาตรา ๗๑๙
จำนองที่ดินไม่ครอบไปถึงเรือนโรงอันผู้จำนองปลูกสร้างลงในที่ดินภายหลังวันจำนอง เว้นแต่จะมีข้อความกล่าวไว้โดยเฉพาะในสัญญาว่าให้ครอบไปถึง แต่กระนั้นก็ดี ผู้รับจำนองจะให้ขายเรือนโรงนั้นรวมไปกับที่ดินด้วยก็ได้ แต่ผู้รับจำนองอาจใช้บุริมสิทธิของตนได้เพียงแก่ราคาที่ดินเท่านั้น

มาตรา ๗๒๐
จำนองเรือนโรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งได้ทำขึ้นไว้บนดินหรือใต้ดินในที่ดินอันเป็นของคนอื่นเขานั้นย่อมไม่ครอบไปถึงที่ดินนั้นด้วย ฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น

มาตรา ๗๒๑
จำนองไม่ครอบไปถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เว้นแต่ในเมื่อผู้รับจำนองได้บอกกล่าวแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนแล้วว่าตนจำนงจะบังคับจำนอง

หมวด ๓ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง

มาตรา ๗๒๒
ถ้าทรัพย์สินได้จำนองแล้ว และภายหลังที่จดทะเบียนจำนองมีจดทะเบียนภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่น โดยผู้รับจำนองมิได้ยินยอมด้วยไซร้ ท่านว่าสิทธิจำนองย่อมเป็นใหญ่กว่าภาระจำยอมหรือทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้น หากว่าเป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้รับจำนองในเวลาบังคับจำนองก็ให้ลบสิทธิที่กล่าวหลังนั้นเสียจากทะเบียน

มาตรา ๗๒๓
ถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองบุบสลาย หรือถ้าทรัพย์สินซึ่งจำนองแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งสูญหายหรือบุบสลาย เป็นเหตุให้ไม่เพียงพอแก่การประกันไซร้ ท่านว่าผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเสียในทันทีก็ได้ เว้นแต่เมื่อเหตุนั้นมิได้เป็นเพราะความผิดของผู้จำนอง และผู้จำนองก็เสนอจะจำนองทรัพย์สินอื่นแทนให้มีราคาเพียงพอ หรือเสนอจะรับซ่อมแซมแก้ไขความบุบสลายนั้นภายในเวลาอันสมควรแก่เหตุ

มาตรา ๗๒๔
ผู้จำนองใดได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระแล้วและเข้าชำระหนี้เสียเองแทนลูกหนี้เพื่อจะปัดป้องมิให้ต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองนั้นชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนที่ตนได้ชำระไป
ถ้าว่าต้องบังคับจำนอง ท่านว่าผู้จำนองชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้ตามจำนวนซึ่งผู้รับจำนองจะได้รับใช้หนี้จากการบังคับจำนองนั้น

มาตรา ๗๒๕
เมื่อบุคคลสองคนหรือกว่านั้นต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและมิได้ระบุลำดับไว้ไซร้ ท่านว่าผู้จำนองซึ่งได้เป็นผู้ชำระหนี้ หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งต้องบังคับจำนองนั้นหามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้จำนองอื่น ๆ ต่อไปได้ไม่

มาตรา ๗๒๖
เมื่อบุคคลหลายคนต่างได้จำนองทรัพย์สินแห่งตนเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวอันบุคคลอื่นจะต้องชำระและได้ระบุลำดับไว้ด้วยไซร้ ท่านว่าการที่ผู้รับจำนองยอมปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่งนั้น ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลัง ๆ ได้หลุดพ้นด้วยเพียงขนาดที่เขาต้องรับความเสียหายแต่การนั้น

มาตรา ๗๒๗
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๙๑ มาตรา ๖๙๗ มาตรา ๗๐๐ และมาตรา ๗๐๑ มาใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลจำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระด้วยโดยอนุโลม
นี่คือข้อความที่แก้ไขแล้ว:

มาตรา ๗๒๗/๑๒
ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด
ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นิติบุคคลเป็นลูกหนี้และบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการตามกฎหมายหรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้นั้นของนิติบุคคลและผู้จำนองได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้เป็นสัญญาต่างหาก

หมวด ๔ การบังคับจำนอง

มาตรา ๗๒๘
เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งต้องไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับคำบอกกล่าวนั้น ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองและให้ขายทอดตลาดก็ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ผู้รับจำนองต้องส่งหนังสือบอกกล่าวดังกล่าวให้ผู้จำนองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ส่งหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ถ้าผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนั้น ให้ผู้จำนองเช่นว่านั้นหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่า ภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาสิบห้าวันดังกล่าว

มาตรา ๗๒๙
ในการบังคับจำนองตามมาตรา ๗๒๘ ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดภายในบังคับแห่งเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนการขายทอดตลาดก็ได้
(๑) ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึงห้าปี และ
(๒) ผู้รับจำนองแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นน้อยกว่าจำนวนเงินอันค้างชำระ

มาตรา ๗๒๙/๑
เวลาใด ๆ หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระ ถ้าไม่มีการจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิอื่นอันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้ ผู้จำนองมีสิทธิแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้รับจำนองเพื่อให้ผู้รับจำนองดำเนินการให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาล โดยผู้รับจำนองต้องดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับ

หนังสือแจ้งนั้น ให้ถือว่าหนังสือแจ้งของผู้จำนองเป็นหนังสือยินยอมให้ขายทอดตลาด ในกรณีที่ผู้รับจำนองไม่ได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้จำนองพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้นบรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่พ้นกำหนดเวลา ดังกล่าว
เมื่อผู้รับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองได้เงินสุทธิจำนวนเท่าใด ผู้รับจำนองต้องจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์ให้เสร็จสิ้นไป ถ้ายังมีเงินเหลือก็ต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนอง หรือแก่บุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น แต่ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนที่ค้างชำระ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๓๓ และในกรณีที่ผู้จำนองเป็นบุคคลซึ่งจำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ผู้จำนองย่อมรับผิดเพียงเท่าที่มาตรา ๗๒๗/๑ กำหนดไว้

มาตรา ๗๓๐
เมื่อทรัพย์สินอันหนึ่งอันเดียวได้จำนองแก่ผู้รับจำนองหลายคนด้วยกัน ให้ถือลำดับผู้รับจำนองเรียงตามวันและเวลาจดทะเบียน และผู้รับจำนองคนก่อนจะได้รับใช้หนี้ก่อนผู้รับจำนองคนหลัง

มาตรา ๗๓๑
ผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้น หามีอาจทำได้ไม่

มาตรา ๗๓๒
ทรัพย์สินซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินเป็นจำนวนสุทธิเท่าใด ให้จัดใช้แก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับ และถ้ายังมีเงินเหลืออยู่ ก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนอง

มาตรา ๗๓๓
ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น

มาตรา ๗๓๔
ถ้าจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้แต่รายหนึ่งรายเดียวและมิได้ระบุลำดับไว้ ให้ผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินนั้น ๆ ทั้งหมด หรือแต่เพียงบางสิ่งก็ได้ แต่ห้ามมิให้ทำเช่นนั้นแก่ทรัพย์สินมากสิ่งกว่าที่จำเป็นเพื่อใช้หนี้ตามสิทธิแห่งตน
ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกัน ให้แบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามส่วนราคาแห่งทรัพย์สินนั้น ๆ เว้นแต่ในกรณีที่ได้ระบุจำนวนเงินจำนองไว้เฉพาะทรัพย์สินแต่ละสิ่ง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด ให้แบ่งกระจายไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้น ๆ
แต่ถ้าผู้รับจำนองใช้สิทธิของตนบังคับแก่ทรัพย์สินอันใดอันหนึ่งแต่เพียงสิ่งเดียว ผู้รับจำนองจะให้ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตนทั้งหมดจากทรัพย์สินอันนั้นก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ถือว่าผู้รับจำนองคนถัดไปโดยลำดับย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับจำนองคนก่อนและจะเข้าบังคับจำนองแทนที่คนก่อนก็ได้แต่เพียงเท่าจำนวนซึ่งผู้รับจำนองคนก่อนจะพึงได้รับจากทรัพย์สินอื่น ๆ ตามบทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น

มาตรา ๗๓๕
เมื่อผู้รับจำนองคนใดจะบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อน จึงจะบังคับจำนองได้

หมวด ๕ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง

มาตรา ๗๓๖
ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองก็ได้ ถ้าหากมิได้เป็นตัวลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกัน หรือเป็นทายาทของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน

มาตรา ๗๓๗
ผู้รับโอนจะไถ่ถอนจำนองเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าผู้รับจำนองได้บอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง ผู้รับโอนต้องไถ่ถอนจำนองภายในหกสิบวันนับแต่วันรับคำบอกกล่าว

มาตรา ๗๓๘
ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำนองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ผู้เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และต้องส่งคำเสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียน ไม่ว่าในทางจำนองหรือประการอื่น ว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น
คำเสนอนั้นให้แจ้งข้อความต่อไปนี้ คือ
(๑) ตำแหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง
(๒) วันที่โอนกรรมสิทธิ์
(๓) ชื่อเจ้าของเดิม
(๔) ชื่อและภูมิลำเนาของผู้รับโอน
(๕) จำนวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
(๖) การคำนวณยอดจำนวนเงินที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้แต่ละคน รวมทั้งอุปกรณ์และจำนวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำดับกัน

อนึ่งให้คัดสำเนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น อันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำเนาถูกต้องส่งไปด้วย

มาตรา ๗๓๙
ถ้าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดไม่ยอมรับคำเสนอ เจ้าหนี้คนนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันมีคำเสนอ เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้น แต่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะต้องปฏิบัติการดังจะกล่าวต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑) ออกเงินทดรองค่าฤชาธรรมเนียมการขายทอดตลาด
(๒) ต้องเข้าสู้ราคาเอง หรือแต่งคนเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินสูงกว่าที่ผู้รับโอนเสนอจะใช้
(๓) บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่น ๆ บรรดาที่ได้จดทะเบียน รวมทั้งเจ้าของทรัพย์คนก่อนและลูกหนี้ชั้นต้นทราบด้วย

มาตรา ๗๔๐
ถ้าขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิหลังจำนวนเงินที่ผู้รับโอนเสนอว่าจะใช้ ให้ผู้รับโอนเป็นผู้ออกใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในการขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่ถึงหลังจำนวน ให้เจ้าหนี้ผู้ร้องขอให้ขายทอดตลาดเป็นผู้ออก

มาตรา ๗๔๑
เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้สนองรับคำเสนอทั่วทุกคนแล้ว โดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ดี จำนองหรือบุริมสิทธิก็เป็นอันไถ่ถอนได้ด้วยผู้รับโอนใช้เงิน หรือวางเงินตามจำนวนที่เสนอใช้แทนการชำระหนี้
มาตรา ๗๔๒
ถ้าการบังคับจำนองก็ดี ถอนจำนองก็ดี เป็นเหตุให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดมือไปจากบุคคลผู้ได้ทรัพย์สินนั้นไว้แต่ก่อน ไทว่าการที่ทรัพย์สินหลุดมือไปเช่นนั้นไม่มีผลย้อนหลัง และบุริมสิทธิทั้งหลายของเจ้าหนี้แห่งผู้ที่ทรัพย์หลุดมือไปอันมีอยู่เหนือทรัพย์สินและได้จดทะเบียนไว้นั้น ก็ย่อมเข้าอยู่ในลำดับหลังบุริมสิทธิอันเจ้าหนี้ของผู้จำนองหรือเจ้าของคนก่อนได้จดทะเบียนไว้

ในกรณีเช่นนี้ ถ้าสิทธิใด ๆ อันมีอยู่เหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้แต่ก่อนได้ระงับไปแล้วด้วยเกลื่อนกลืนกันในขณะที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ไทว่าสิทธินั้นให้กลับคืนมาเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลผู้นั้นได้อีก ในเมื่อทรัพย์สินซึ่งจำนองกลับหลุดมือไป

มาตรา ๗๔๓
ถ้าผู้รับโอนได้ทำให้ทรัพย์สินซึ่งจำนองเสื่อมราคาลงเพราะการกระทำหรือความประมาทเลินเล่อแห่งตน เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ทั้งหลายผู้มีสิทธิจำนองหรือบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้นต้องเสียหาย ไทว่าผู้รับโอนจะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น อย่างไรก็ดี ผู้รับโอนจะเรียกเอาเงินจำนวนใด ๆ ซึ่งตนได้ออกไป หรือเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนได้ทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นนั้น ไทว่าหาอาจจะเรียกได้ไม่ เว้นแต่ที่เป็นการทำให้ทรัพย์สินนั้นงอกราคาขึ้น และจะเรียกได้เพียงเท่าจำนวนราคาที่งอกขึ้นเมื่อขายทอดตลาดเท่านั้น

หมวด ๖ ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนอง

มาตรา ๗๔๔
การจำนองย่อมระงับสิ้นไป
(๑) เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ
(๒) เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ
(๓) เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น
(๔) เมื่อถอนจำนอง
(๕) เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง หรือเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา ๗๒๙/๑
(๖) เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด

มาตรา ๗๔๕
ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้
มาตรา ๗๔๖
การชำระหนี้ไม่ว่าครั้งใด ๆ สิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้อย่างใด ๆ ก็ดี การตกลงกันแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนองหรือหนี้อันจำนองเป็นประกันนั้นเป็นประการใดก็ดี ท่านว่าต้องนำความไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเมื่อมีคำขอร้องของผู้มีส่วนได้เสีย มิฉะนั้นท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก

รับขายฝาก จำนอง สินเชื่อธุรกิจ จำนำหุ้น จำนำตราสารหนี้

#คำถาม
หลายท่านคงสงสัย มีที่รับขายฝาก จำนองเยอะแยะมากมาย ทำไมต้องขายฝาก จำนองกับเรา มันต่างกันตรงไหน?

#คำตอบ
ขายฝากกับเราต่างจากหลายๆ ที่ที่ประกาศรับขายฝาก จำนอง อย่างไร? เราขออธิบายตามนี้นะ ลองอ่านดูนะคะ
ก่อนอื่นต้องขอแจ้งให้ท่านทราบก่อน บริษัทเราเป็นบริษัทโบรกเกอร์ให้คำปรึกษาด้านงานขายฝาก จำนอง ฝากขาย ฝากเช่าอสังหาริมทรัพย์ โดยถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมนายทุนรับขายฝาก จำนอง ซึ่งเราได้รวม นายทุนรับขายฝาก จำนอง ไว้หลายท่าน กว่า 20-30 ท่าน แบ่งรับงานหลายเขต

#โดยการรวบรวมข้อมูล
นายทุนขายฝาก จำนอง ไม่ว่าจะเป็นระบบบริษัทหรือระบบนายทุนบุคคล
บริษัท ดอกเบี้ยถูก ผ่อนระยะยาว ตัดต้นตัดดอกไม่เสี่ยงต่อการถูกยึดทรัพย์ สามารถต่อสัญญาได้ตลอดถึง 10 ปี
นายทุนบุคคล ดอกเบี้ยเริ่มต้น 1-1.25 บาท มีทั้งแบบสัญญาระยะสั้นและระยะยาวตามข้อตกลงทั้ง 2 ฝ่าย สามารถขยายระยะเวลาได้ถึง 10 ปี

หน้าที่หลักของบริษัทเราเป็นการคัดทรัพย์เพื่อส่งนำเสนอนายทุนพิจารณา ตามหลักความเป็นจริง ในบางครั้ง ถ้าท่านเป็นคนส่งนายทุนด้วยตัวเอง บางทีอาจจะเป็นการเสี่ยงเสียด้วยซ้ำ ถ้าหากตัวท่านไม่มีความรู้ในเรื่องนิติกรรมขายฝาก จำนองเลย เพราะนายทุนแต่ละท่านไม่ใช่จะใจดีทุกคน การทำธุรกิจเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องมองผลประโยชน์กับผลตอบแทนเป็นหลัก ท่านอาจจะโดนเอาเปรียบได้ในทุกครั้ง เรื่องนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะถึงยังไง การส่งงานนายทุนโดยตรงกับการส่งงานผ่านบริษัทโบรกเกอร์อย่างเรา หรือให้บริษัทอื่นเป็นที่ปรึกษา เรื่องเอกสารและนิติกรรมถ้ามีผู้ช่วยมีที่ปรึกษาน่าจะปลอดภัยยิ่งกว่าที่เราทำเรื่องเองทุกอย่าง ถ้าเรารู้ก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราไม่รู้ก็คงจะเสี่ยงพอสมควร เราจึงแนะนำให้ท่านหาผู้ช่วย ทนาย หรือบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาที่มีความรู้ทางด้านนี้จะดีกว่า เพราะถ้านิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นแล้วถ้ามีปัญหาเราจะไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้เลย

อีกอย่างถึงแม้ท่านเองเป็นคนส่งนายทุนโดยตรงเอง ยังไงท่านก็ต้องจ่ายค่าดำเนินการ หรือที่เรียกว่าค่า ปากถุง
อยู่ดีโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เป็นค่าธรรมเนียมปกติ มาให้เราช่วยตรวจสอบเอกสาร เป็นที่ปรึกษา คุณคิดว่าจะดีกว่ามั้ยคะ เพราะคุณจะได้ไม่พลาดและโดนเอาเปรียบจร้า…(ปลอดภัยไว้ก่อน)

โอกาสข้อดีที่ท่านเลือกใช้บริการของเรา

เราบริการอย่างเป็นมืออาชีพ ไม่เรียกเก็บค่าดำเนินการเพิ่มนอกจากค่าปากถุงที่ท่านต้องจ่ายทุกครั้งโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

ท่านสามารถเข้าถึงนายทุนได้โดยตรงไม่ต้องส่งทรัพย์หลายต่อ บางทีถ้าท่านไม่รู้ที่มาที่ไปของนายทุนหรือนายหน้า อาจทำให้ทรัพย์ของท่านร่อนในตลาด ทำให้ทรัพย์ของท่านกลายเป็นทรัพย์ไม่มีศักยภาพ หรือที่นายหน้าเรียกว่า “ทรัพย์เน่า” และจะทำให้ไม่มีนายทุนใดกล้ารับขายฝาก จำนอง

บริษัทเราช่วยวิเคราะห์ทรัพย์ว่าว่ามีความเหมาะสมกับนายทุนท่านใด ก่อนส่ง เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณามากขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้นและเป็นการไม่เสี่ยง เพราะเรารู้จักกับนายทุนแต่ละท่านดี

บริษัทเราประเมินราคาและแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าก่อนว่าราคาที่ท่านต้องการเป็นไปได้หรือไม่ในการทำขายฝาก จำนอง และปรับราคาให้เหมาะสมจนสามารถทำสัญญาขายฝาก จำนองกับนายทุนได้ เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องเสียโอกาสและรอเงินจากการที่ท่านจะนำเงินไปต่อยอดธุรกิจของท่านเอง

บริษัทเราเป็นที่ปรึกษาตรวจสอบเอกสารทุกขั้นตอนในการทำสัญญา เพื่อท่านจะได้ไม่โดนโกงหรือโดนเอาเปรียบ ให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาขายฝาก จำนอง และท่านไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเพิ่มนอกจากค่าดำเนินการที่ท่านจำเป็นต้องจ่ายทุกครั้งปกติ

เนื่องจากเราเป็นผู้รวบรวมนายทุนรับขายฝาก จำนองไว้ เราจึงรู้ข้อมูลของนายทุนแต่ละท่านดี ว่าเป็นยังไงบ้าง จึงไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องความขัดแย้งจากการเอาเปรียบของนายทุนเพื่อหวังทรัพย์หรือผลประโยชน์ต่าง ๆ จากการทำสัญญาในทุกครั้ง เพราะถ้าเราไม่รู้เรื่องกฎหมายหรือไม่เก่ง มันก็อาจจะมีช่องโหว่ให้คนที่คิดไม่ดีซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ เราอาจจะเสียทรัพย์ไปฟรี ๆ เลยก็ว่าได้ เพราะบางครั้งการทำสัญญาขายฝาก จำนองกับบุคคลที่ท่านไม่รู้จักมาก่อน อาจจะเป็นการเสี่ยง เพราะวงการนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดี มิจฉาชีพเยอะมาก ๆ เพราะมูลค่ามันสูง ถ้าท่านไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของคนพวกนี้ จะทำให้ท่านโดนโกงหรือโดนเอาเปรียบได้ง่าย ๆ

เราช่วยท่านออกแบบวงเงินสินเชื่อและให้คำปรึกษาสำหรับช่องทางการผ่อนส่ง การจ่ายดอกเบี้ยคืน เพื่อให้ท่านดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกคล่องแคล่วไม่สะดุด ออกแบบโครงสร้างหนี้ให้ท่านและเจรจาเพิ่มหรือลดวงเงินกู้หรือดอกเบี้ยให้ท่าน จะได้ไม่กระทบต่อเงินสดในธุรกิจ

เราเป็นกลางระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนายทุนและผู้กู้ ให้คำปรึกษา และช่วยแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้น ช่วยเคลียร์ทั้งเรื่องเอกสารและการเจรจาให้ลงตัวที่สุดให้ได้รับผลประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมกัน